微信关注,获取更多

除了高温,泰国夏季这些常见病也不能忽视!

在泰国,炎热的夏季除了要当心难耐的酷暑,还存在着一些其他的健康危机,有一些夏季常见的疾病也需要我们特别当心,接下来就让我们一起了解一下,泰国夏季有哪些高发疾病?

โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก

เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกินไป จนทําให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ปอด ไต และกล้ามเนื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงที จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ บางรายถึงขั้นพิเสียชีวิตได้

คนที่ร่างกายแข็งแรงแต่ต้องอยู่กลางแจ้งนานมีโอกาสเกิดฮีทสโตรกได้เช่นกัน จึงควรเลี่ยงการสวมชุดที่มีสีเข้ม เนื่องจากจะดูดซับความร้อนได้ดี ดื่มน้ำ สลับเข้าพักในที่ร่มเป็นระยะ เช่น ทุก 30 นาที หรือทุกชั่วโมง

โรคลมแดด อาการสำคัญ ได้แก่ วิงเวียน อ่อนเพลีย ร่างกายมีความร้อนเพิ่มขึ้น เหงื่อไม่ค่อยออก ผิวร้อน แดง แห้ง หากเริ่มมีอาการ ให้รีบเข้าที่ร่มหรือห้องที่มีความเย็น และดื่มน้ำมาก ๆ 

วิธีป้องกัน และสิ่งที่ควรปฏิบัติ มีดังนี้

  • ดื่มน้ำวันละ 8 – 10 แก้ว หากสูญเสียเหงื่อมากควรดื่มเครื่องดื่มประเภทเกลือแร่ 
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน เลือกออกกําลังกายช่วงเช้าและเย็น เปลี่ยนมาออกกำลังกายภายในอาคาร หรือบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท
  • ออกกำลังกายเป็นกลุ่ม เพื่อหากมีอาการผิดปกติได้รีบแจ้งบุคคลใกล้ชิด
  • ใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ผ้าโปร่งสบาย ระบายอากาศได้ดี
  • หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดด สวมแว่นกันแดด กางร่ม ทาครีมกันแดด 
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

 

โรคผิวหนังในหน้าร้อน

หน้าร้อน แดดจ้าให้เกิดผิวไหม้จากแสงแดด ผิวคล่ำ และอากาศทีร้อนอบอ้าวยังเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดโรคผิวหนังชนิดต่าง ๆ ได้ โรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าร้อน ได้แก่ 

  • ผดร้อน

เกิดจากเหงื่อที่ออกมากในช่วงที่อากาศร้อนร่วมกับใส่เสื้อผ้าที่ไม่ระบายอากาศ ทำให้เกิดผื่นสีแดง ที่มีอาการคัน อาการแสบได้ ผดร้อนเกิดจากการอุดตันของการหลั่งเหงื่อ โดยจะเกิดเป็นผืนตุ่มเล็ก ๆ มีสีแดง หรือเป็นตุ่มน้ำใสเม็ด ๆ ที่บริเวณหน้าอก คอ และหลัง

  • ฝ้าและกระ

เกิดจากแสงแดดไปกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานมากขึ้น ทำให้โรคในกลุ่ม ฝ้า กระ มีสีที่เข้มขึ้นได้ในช่วงหน้าร้อน ผู้ที่ต้องทํางานกลางแจ้งเป็นประจําก็จะเริ่มมีฝ้าและกระแดดเกิดขึ้นที่ใบหน้า นอกจากนี้ การโดนแดดสะสมเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่มีการป้องกันจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิด มะเร็งผิวหนัง ได้

  • กลุ่มติดเชื้อราต่าง ๆ

อากาศร้อน ส่งผลให้เหงื่อออกเยอะทำให้ผิวหนังมีความอับชื้น เกิดการติดเชื้อราซ้ำซ้อน ทำให้เกิดโรคผิวหนังตามมา บริเวณที่พบบ่อย เช่น บริเวณรักแร้ ซอกพับ หรือง่ามมือง่ามเท้า ซึ่งพบได้บ่อยและเกิดได้ในทุกช่วงวัย

วิธีป้องกัน และสิ่งที่ควรปฏิบัติ มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง
  • ทากันแดดสม่ำเสมอ เพียงพอ คือประมาณ 2 ข้อนิ้ว และหมั่นทาซ้ำบ่อย ๆ 
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หมวก ร่ม
  • หากมีผื่นหรือความผิดปกติใด ๆ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • ใช้ครีมกันแดดทาบริเวณใบหน้า ลําคอ และผิวบริเวณที่ไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม

โรคอาหารเป็นพิษ

ในช่วงนี้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เชื้อโรคหลายชนิดเติบโตได้ดี อาจทำให้อาหารบูดเสียได้ง่ายกว่าปกติ เสี่ยงที่จะเจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษ 

โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน ที่มากับอาหารที่ไม่สะอาด อาหารที่ทําไว้ล่วงหน้านาน ๆ และไม่ได้รับการอุ่นร้อนก่อนรับประทาน  

อาการที่สําคัญของ โรคอาหารเป็นพิษ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ ลำไส้อักเสบ และอาจมีไข้ ปวดศีรษะร่วมด้วย ในรายที่มีอาการถ่ายอุจจาระมาก ผู้ป่วยอาจมีภาวะช็อกหมดสติได้

การดูแลเบื้องต้น ควรให้จิบผงละลายเกลือแร่ บ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

วิธีป้องกัน และสิ่งที่ควรปฏิบัติ มีดังนี้

  • ใครไม่อยากเป็นโรคอาหารเป็นพิษ จึงแนะนำ “กินสุก ร้อน สะอาด”
  • หลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะอาหารทะเลที่ใช้วิธีการลวก ได้แก่ หอยลวก ปลาหมึกลวก กุ้งลวก  
  • กินอาหารขณะที่ยังร้อน อาหารที่เก็บไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง ต้องนำมาอุ่นก่อนรับประทานทุกครั้ง
  • อาหารกล่องควรแยกกับและข้าวออกจากกัน หากมีรูป รส กลิ่น สีผิดปกติไม่ควรทาน
  • เลือกกินอาหาร น้ำดื่ม และน้ำแข็งที่สะอาด
  • เลือกซื้อวัตถุดิบที่สด สะอาด ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานร่วมกัน
  • ก่อนหยิบจับอาหารควรล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทุกครั้ง

โรคอุจจาระร่วง 

โรคอุจจาระร่วง เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส พยาธิ สารพิษและสารเคมี พบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี ขณะที่สภาพอากาศร้อน เป็นปัจจัยเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคส่งผลให้อาหารที่เตรียมไว้ปูดง่าย เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคอุจจาระร่วงได้เช่นกัน

อาการสําคัญ คือ มีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ อย่างน้อย 3 ครั้ง หรือถ่ายปนมูกปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง อาจอาเจียนหรือมีภาวะขาดน้ำร่วมด้วย ส่วนใหญ่มักหายได้เอง แต่หากมีอาการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ไปพร้อมกับการถ่ายมาก อาจทำให้ช็อก หมดสติ และภาวะขาดสารอาหารในช่วงหลัง ส่งผลให้ผู้ป่วยโดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เกิดโรคแทรกซ้อนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 

วิธีป้องกัน และสิ่งที่ควรปฏิบัติ มีดังนี้

  • งดอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดอง 
  • กินอาหารย่อยง่าย  
  • คนที่ท้องร่วงรุนแรง หรือมีอาการปวดเกร็งท้องร่วมกับถ่ายปนมูกเลือด ต้องรีบพบแพทย์ 
  • ล้างมือให้สะอาด ทุกครั้งก่อนปรุงอาหาร ก่อนกินอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
  • กินอาหารที่สุกถูกสุขลักษณะ เนื่องจากเชื้อโรคจะถูกทำลายด้วยความร้อนในอุณหภูมิที่สูง 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • ดื่มน้ำ น้ำแข็ง ที่สะอาด 
  • ไม่ควรกินอาหารที่มีรูปรส กลิ่น สี ที่เปลี่ยนไป

ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย

ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดน้อย พบได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน เกิดจากการรับประทานอาหาร และดื่มน้ำที่ปนเปื้อน เชื้อไทฟอยด์จากอุจจาระหรือปัสสาวะของผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะโรคไทฟอยด์

อาการสําคัญ คือ มีไข้สูงลอยมากกว่า 1 สัปดาห์ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนอาจมีไข้สูงได้ถึง 40.5 องศาเซลเซียส และมีอาการร่วม คือ ปวดศีรษะ บางรายอาจมีอาการท้องอืดหรือท้องเสีย หรือมีอาการผื่นขึ้นตามหน้าอกและลำตัว หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีอาการเพ้อเพราะพิษไข้ หรืออ่อนเพลีย รวมถึงอาจมีความรุนแรง ทำให้เกิดอาการโคมาได้ 

วิธีป้องกัน และสิ่งที่ควรปฏิบัติ มีดังนี้

  • ควรดื่มน้ำสะอาด หากไม่แน่ใจควรดื่มน้ำสุก และกินอาหารที่สะอาด มีภาชนะปกปิดและไม่มีแมลงวันตอม
  • ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นพาหะโรค ไข้ไทฟอยด์ควรหลีกเลี่ยงการประกอบอาหารให้ผู้อื่นรับประทาน เนื่องจากอาจทําให้เกิดการระบาดของโรคได้
  • ถ่ายอุจจาระในที่ถูกสุขลักษณะ หากถ่ายลงหลุมควรกลบเสีย โดยเฉพาะอุจจาระและปัสสาวะของผู้ป่วย 
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์ 1-3 ปี จะช่วยป้องกันโรคได้มาก เด็กอาจเริ่มฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ

โรคอหิวาตกโรค

โรคติดต่อที่เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุเกิดจากการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่ เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารทะเล อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ รับประทาน หรือดื่มน้ำที่มีการใช้ภาชนะหรือมือไม่สะอาด

อาการที่สําคัญ คือ ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำซาวข้าวคราวละมาก ๆ โดยไม่มีอาการปวดท้อง บางครั้งมีคลื่นไส้ อาเจียน สูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วจนเกิดภาวะเป็นกรดในเลือด และการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว

วิธีป้องกัน และสิ่งที่ควรปฏิบัติ มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ และดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก ภาชนะที่ใส่อาหารควรล้างให้สะอาดทุกครั้งก่อนใช้
  • หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง สุก ๆ ดิบ ๆ อาหารที่ปรุงไว้นาน อาหารที่มีแมลงวันตอม
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนรับกินอาหาร หรือก่อนปรุงอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
  • ระวังไม่ให้น้ำเข้าปาก เมื่อลงเล่นหรืออาบน้ำในลำคลอง

โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ

โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น สุนัข แมว โค กระบือ หนู กระรอก กระต่าย ลิง ค้างคาว ในประเทศไทยมักพบในสุนัข แมว และพบบ้างในโคกระบือ โดยเชื้อจะเข้าทางบาดแผลที่ถูกกัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่มีบาดแผล รอยถลอก หรือรอยขีดข่วนบาดแผล หรือเลียถูกบริเวณเยื่อบุตา หรือปาก

วิธีป้องกัน และสิ่งที่ควรปฏิบัติ มีดังนี้

  • นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนเมื่ออายุ 2 เดือน เข็มที่สองฉีดหลังจากเข็มแรก 3-4 สัปดาห์ และฉีดซ้ำทุกปี 
  • หากถูกสุนัขกัด ข่วน หรือเลีย ให้รีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่อย่างเบามือนานอย่างน้อย 10 นาที เพื่อกำจัดเชื้อออกไปให้มากที่สุด ใส่ยาฆ่าเชื้อที่บาดแผล และไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ควรฉีดให้ครบชุดและตรงตามแพทย์นัด
  • กักตัวสัตว์ไว้เพื่อสังเกตอาการ 10 วัน หากตายให้รีบแจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่
  • ระวังบุตรหลาน ไม่ให้เล่นคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน

 

除了高温,大家还要小心这些疾病的发生哦!

 

声明:本文由泰国旅游信息网编译整理,素材来自thaipbs,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。

未经允许不得转载:泰国旅游信息网 » 除了高温,泰国夏季这些常见病也不能忽视!

评论

8+8=