微信关注,获取更多

泰版《罗摩衍那》,大反派十首魔王的十个头到底代表了什么?

泰版的《罗摩衍那》又称《拉玛坚》,是泰国文学史上的巨作,里面有一个大反派叫做“托萨甘”,也被人们叫作十首魔王,那大家知道这十首到底代表了什么吗?接下来就让我们带大家好好了解一下这个文学作品中的人物!

อันที่จริง ทศกัณฐ์ ไม่ใช่ชื่อจริง ๆ ของพญายักษ์ในเรื่อง “รามเกียรติ์” หรือรามายณะ เพราะชื่อจริง ๆ คือ “ราวณะ” (Ravana – रावण) หรือ ราวัณ เป็นภาษาสันสกฤตที่แปลว่า “คำราม”

ราวณะเป็นที่รู้จักในชื่ออื่น ๆ ด้วย เช่น “ทศพักตร์” แปลว่า สิบหน้า (ทศ-สิบ / พักตร์-หน้า) “ลงเกศวร” แปลว่า เจ้ากรุงลงกา และ “ราวเณศวร” แปลว่า ท้าวราวณะ

ส่วนที่รู้จักกันมากที่สุดในบ้านเราคือ “ทศกัณฐ์” แปลว่า สิบคอ (จากการมีสิบหน้า) ซึ่งมาจากการอำนวยพรของพระนารายณ์เมื่อครั้งปราบยักษ์ “นนทก” อดีตชาติของราวณะ คือให้ไปเกิดเป็นพญายักษ์มีสิบเศียร (หัว) ยี่สิบกร (มือ) ซึ่งก็สมพรปาก ราวณะยังมีชาติกำเนิดเป็นชนชั้นเจ้า เป็นพญายักษ์ ผู้ครองกรุงลงกา มีฤทธิ์เดชมาก แต่ก็ไม่วายถูก “พระราม” ผู้เป็นอวตารพระนารายณ์ตามมาปราบเข้าจนได้

มีผู้ให้ข้อสังเกตว่า ชื่อ “ราวณะ” ในมหากาพย์รามายณะ อาจมาจากคำว่า “อิไรวน” (Iraivan – இறைவன்) ในภาษาทมิฬ ซึ่งแปลว่า “เจ้า” หรือราชา สอดคล้องกับตัวตนของราวณะที่เป็นราชาแห่งเหล่ารากษส (อสูร) หรือคนทมิฬในสายตาของชาวอารยัน

ราวณะในเวอร์ชันฮินดูมีชื่อเสียงเรื่องการเป็นสาวกคน (ตน) สำคัญของพระศิวะ ชาวฮินดูในหลายพื้นที่ของอินเดีย ศรีลังกา และอินโดนีเซีย จึงเคารพบูชาราวณะด้วย ดังจะเห็นว่าเทวาลัยพระศิวะหลายแห่งมีรูปราวณะประดับอยู่ภายในร่วมกับรูปพระศิวะ

ในคัมภีร์พราหมณ์-ฮินดู ราวณะถือเป็นมหาบัณฑิต มีความรู้ในวิชาต่าง ๆ ได้แก่ 1) คณิตศาสตร์ 2) วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์, ดาราศาสตร์, กลศาสตร์) 3) รัฐศาสตร์ 4) โยคะศาสตร์ (การฝึกจิต บำเพ็ญตบะ) 5) ปรัชญาและเหตุผล 6) ความแตกฉานในคัมภีร์พระเวท โดยคัมภีร์พระเวทยังแบ่งออกเป็น 4 คัมภีร์ย่อย ได้เแก่ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และ อถรรพเวท

จึงเชื่อได้ว่า ศาสตร์เหล่านี้อาจเป็นที่มาของฉายา “ทศ-” ของราวณะ ทั้ง ทศกัณฐ์และทศพักตร์ จากความเป็นผู้เลิศในวิทยาการทั้ง 10 นั่นเอง

หากอธิบายจากบริบทสังคมฮินดู ถือว่า “ทศกัณฐ์” อยู่ในวรรณะกษัตริย์ เพราะมีชาติกำเนิดสูงส่ง หรืออย่างน้อย ๆ ก็วรรณะพราหมณ์ เพราะมีการศึกษา คือเป็นปราชญ์ผู้หนึ่ง ไม่ใช่ผู้นำคนเถื่อนธรรมดา ๆ อย่างที่แปลความกันใน “รามเกียรติ์” ว่าเป็นวรรรณกรรมสะท้อนการรุกรานของชนเผ่าอารยันอันสูงส่ง (ฝ่ายพระราม) เพื่อปราบปรามพวกทราวิฑ ชนพื้นเมืองที่ต่ำต้อย (ฝ่ายราวณะ) 

อย่างไรก็ตาม “ทศ-” ของราวณะยังถูกตีความว่าอาจเป็นจิตใจ หรืออารมณ์ (ด้านร้าย) ทั้ง 10 ด้วย ได้แก่ ตัณหา, อัตตา, ยโส, โง่เขลา, โลภ, โกรธ, หลง, ริษยา, เกลียดชัง และหวาดกลัว

ทั้งนี้ การตีความดังกล่าวอาจเพื่อให้สอดรับกับประเพณี “วิชัยทัศมี” (Vijayadashami) ที่ชาวฮินดูในหลายพื้นที่ของอินเดียปฏิบัติกันทุกปี โดยจะมีการเผาหุ่นจำลองของราวณะ ซึ่งสื่อความหมายว่าเป็นสัญลักษณ์ของอารมณ์ด้านร้าย หรือจิตใจอันบิดเบี้ยวทั้ง 10 ประการ เพื่อชำระล้างจิตใจให้สะอาดนั่นเอง

 

大家读过泰国版本的《罗摩衍那》吗?

 

声明:本文由泰国旅游信息网编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。

未经允许不得转载:泰国旅游信息网 » 泰版《罗摩衍那》,大反派十首魔王的十个头到底代表了什么?

评论

4+7=